แบ่งปัน พอเพียง ยั่งยืน

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย
ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป.ลาว จัดการฝึกอบรมหลักสูตรการเพิ่มศักยภาพของบุคลากร (Capacity Building) ในการใช้ระบบการเฝ้าระวังและการเตือนภัย ครั้งที่ 3 

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 - 12 กันยายน 2566 ณ โรงแรมเอราวัน แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมี ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ กรรมการมูลนิธิ และเป็นประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือเพื่อการเฝ้าระวัง การเตือนภัย และการบรรเทาทุกข์ จากปัญหาอุทกภัยใน สปป.ลาว (ฝ่ายไทย) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ และเจ้าหน้าที่จากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. เข้าร่วมในการอบรม โดยมีฝ่าย สปป.ลาว นำโดย ท่านนางพักกะวัน พิดสะมัย หัวหน้ากรมแผนการและการเงิน ท่านนางอุทอน เพดหลวงสี หัวหน้ากรมอุตุนิยมและอุทกศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป. ลาว ท่านสุนะเดด สุกจะเริน รองหัวกรมแผนการและการเงิน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป.ลาว จากส่วนกลาง และเจ้าหน้าที่ประจำแขวงจาก แขวงสะหวันนะเขต แขวงจำปาสัก แขวงคำม่วน แขวงเซกอง แขวงสาละวัน แขวงอัตตะปือ และตัวแทนเจ้าหน้าที่จากการฝึกอบรมครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 จากแขวง บอลิคำไซ และแขวงไซยะบุรี จำนวนทั้งหมด 30 คน เข้าร่วมการอบรม


ตลอดระยะเวลา 2 วันในการอบรม มีการร่วมเสวนาและให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในการเฝ้าระวัง เตือนภัย ก่อนเกิดอุทกภัยจากสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ การถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยี เพิ่มทักษะการใช้งาน และการบำรุงรักษาดูแลสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้เรียนรู้การติดตามข้อมูล แนะนำข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ (NHC) การทำรายงานเหตุการณ์และรายงานสถานการณ์น้ำประจำวัน การคาดคะเนและการสรุปรายงานสถานการณ์ เพื่อเตรียมการรับมืออุทกภัยที่จะเกิดขึ้น 


ทั้งนี้มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ได้สนับสนุนงบประมาณในการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ ในพื้นที่ สปป.ลาว จำนวน 11 สถานี กระจายตัวครอบคลุมตั้งแต่ตอนเหนือสุด คือ แขวงบ่อแก้ว ไปจนถึงตอนตอนใต้สุด คือ แขวงสาละวัน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565 และในระยะที่ 2 อยู่ในช่วงดำเนินการติดตั้งสถานีโทรมาตรฯ เพิ่มเติมจำนวน 9 สถานีใน 6 แขวง นอกจากนี้มูลนิธิฯ ได้จัดการฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยการธรรมชาติฯ สปป.ลาว จำนวน 3 ครั้งใน 3 ภูมิภาคของสปป.ลาว ได้แก่ ภาคกลาง ณ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นครหลวงเวียงจันทน์ ภาคเหนือ ณ แขวงหลวงพระบาง และภาคใต้ ณ แขวงจำปาสัก เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้ข้อมูลจากสถานีโทรมาตรอัตโนมัติในการเฝ้าระวังก่อนเกิดอุทกภัย


#มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่งภาฯยามยาก
#สถานีโทรมาตรอัตโนมัติ
#เฝ้าระวังก่อนเกิดอุทกภัย

แบ่งปันข้อมูล :

2023-02-06

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ติดตามการดำเนินงานในด้านการเฝ้าระวัง

2023-02-03

อิหม่าม คณะกรรมการ ชาวสัปปุรุษ ประจำมัสยิดดารุ้ลอะมาล เพชรบุรี ซอย 7 และประชาชน