แบ่งปัน พอเพียง ยั่งยืน

คณะเจ้าหน้าที่มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล

คณะเจ้าหน้าที่มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเฝ้าระวังและการเตือนภัย เครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
.
ในช่วงเช้าของวันที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา คณะได้เดินทางไปยังพื้นที่เครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ชุมชนบ้านปากซวด ตำบลพระแสง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการทำงานระหว่างมูลนิธิฯ และชุมชนในพื้นที่ โดยมีหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาสก และผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี  เข้าร่วมพูดคุยหารือ
.
จากเดิมชุมชนบ้านปากซวด มีอาชีพทำเกษตรเชิงเดี่ยวสวนยางพารา จึงเกิดปัญหากับอุทยานฯ เรื่องที่ดินทำกินทับซ้อนในพื้นที่ป่า ปัจจุบันชุมชนได้ปรับเปลี่ยนอาชีพเป็นเกษตรผสมผสาน ทำงานอนุรักษ์ป่าไม้และแหล่งน้ำร่วมกับกรมอุทยานฯ และมีการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ โดยได้รับความรู้ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำจากมูลนิธิฯ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ทำให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีนำสำหรับอุปโภคบริโภคได้เพียงพอ อีกทั้งยังสามารถขยายผลให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำไปยังชุมชนข้างเคียงได้ 
.
ทั้งนี้ ชุมชนบ้านปากซวด ได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ในปี 2562 และได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์เฝ้าระวังเตือนภัยจากมูลนิธิฯ เช่น วิทยุสื่อสาร เครื่องปั่นไฟ สถานีโทรมาตรอัตโนมัติ ทำให้ชุมชนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเตรียมความพร้อมและรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้คนในชุมชนมีการสื่อสารที่ดีและช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำให้การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆที่ได้การสนับสนุนจากมูลนิธิฯเกิดประโยชน์สูงสุด
.
#มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่งภาฯยามยาก 
#เครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่งภาฯ 
#บ้านปากซวด

แบ่งปันข้อมูล :

2023-02-06

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ติดตามการดำเนินงานในด้านการเฝ้าระวัง

2023-02-03

อิหม่าม คณะกรรมการ ชาวสัปปุรุษ ประจำมัสยิดดารุ้ลอะมาล เพชรบุรี ซอย 7 และประชาชน